ฟ้อนภูไท 3 เผ่า

ฟ้อนภูไท 3 เผ่า

คำว่า “ภูไท” ในภาษาภูไทและภาษาอีสาน หมายถึง กลุ่มชนผู้ที่อาศัยตามแนวภูเขา
แต่ภาคกลางมักเขียนว่า “ผู้ไทย” ซึ่งหมายถึง กลุ่มชนเชื้อชาติไทย

ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวภูไทอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย หรือแคว้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวภูไทซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการช่วยปราบกบฏในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบ กษัตริย์เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทานพระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่ง เกิดจากพระศรีวรราช หัวหน้าชาวภูไท และเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คน แยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวภูไท คือ เมืองสบแอก เมืองเชียงค้อ พร้อมกับอพยพชาวภูไทลงไปทางใต้ของราชอาณาจักรเวียงจันทน์ เป็นเมืองวัง เมืองตะโปน(เซโปน) อันเป็นถิ่นกำเนิดของชาวภูไท (เรียบเรียงจากลายพระหัตถ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารี ในหนังสือชื่อพระราชธรรมเนียมลาว ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479) พระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4  และเจ้าจอมมารดาดวงคำ (เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์)
ต่อมาชาวภูไทได้แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต ของประเทศลาว

อ่านเพิ่มเติม

ฟ้อนเงี้ยว

ฟ้อนเงี้ยว

ประวัติความเป็นมา

ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “เงี้ยว” มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย นางลมุล ยมคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฎศิลป์ วิทยาลัยนาฎศิลป์กรมศิลปากรได้มีโอกาสไปสอนละครที่คุ้มเจ้าหลวง เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เห็นการฟ้อนเงี้ยวเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า เงี้ยวปนเมือง ของคุ้มเจ้าหลวง ซึ่งมีนางหลง บุญจูหลงเป็นผู้ฝึกสอน ในความควบคุมของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชการที่ 5 ต่อมานางลมุล ยมคุปต์ ได้รับราชการเป็นครูสอนนาฎศิลป์ ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ (ในขณะนั้นเรียกว่า “โรงเรียนนาฎดุริยางค์ศาสตร์”) และได้นำลีลาท่ารำฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ให้งดงามตามแบบฉบับนาฎศิลป์ไทย บรรจุไว้ในหลักสูตรวิชานาฎศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2478 บทร้องของฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะเป็นบทอวยพร คือ อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาปกป้องคุ้มครองอวยชัยให้พรเป็นสวัสดิมงคลต่อไป อ่านเพิ่มเติม

ฟ้อนรำตังหวาย

รำตังหวาย

รำตังหวาย เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีขอขมา ภายหลังนิยมแสดงในงานนักขัตฤษ์และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติของภาคอีสาน ครูนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลปะร้อยเอ็ด กรมศิลปากร ได้ประยุกต์และจัดกระบวนรำขึ้นใหม่ รวม 12 ท่า จากท่ารำแม่บทอีสาน โดยผู้แสดงแต่งกายห่มผ้าคาดอก นุ่งซิ่นฝ้ายมัดหมี่มีเชิง เกล้าผมสูงเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ โปงลาง แคน พิณ ซอ กั๊บแก๊บ ฉิ่ง และฉาบ ครั้งก่อนเรียกว่า รำถวาย และในปัจจุบันเรียกว่า รำตังหวาย
อ่านเพิ่มเติม

เซิงกระติบข้าว

เซิงกระติบข้าว 

ในราว พ.ศ. 2507 เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงมีพระประสงค์การแสดงของภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนา และเจ้าหญิงบีทริกซ์ แห่งประเทศเนเธอแลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงเซิ้งอีสานคือ จังหวะลำเซิ้งมาใช้ โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย (รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้นจะนุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ยังไม่ได้ห้อยกระติบข้าวเพราะเห็นว่ารุงรัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดูว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าว หรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็นอย่างไร? คุณหญิงเบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่สองรำโดยห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่ากำลังน่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งคำเดียวว่า “น่าเอ็นดูดีนี่” ผู้รำทุกคนก็พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า “เซิ้งอีสาน” ต่อมามีผู้นำเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไปแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “เซิ้งกระติบข้าว”  อ่านเพิ่มเติม

รำเชิญพระขวัญ

รำเชิญพระขวัญ

เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่ประกอบในละครเรื่อง “น่านเจ้า” ซึ่งประพันธ์โดย ฯพณฯ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ต่อมาได้นำมาใช้ในการแสดงเบิกโรง หรือรำอวยพรทั่วไป

ท่ารำเบื้องต้นทางนาฏศิลป์ สามารถนำมาใช้ในการร่ายรำประกอบการแสดงได้หลายแบบ เช่น การรำเชิญพระขวัญ เป็นการร่ายรำใช้แสดงในงานมงคลหรือแสดงในงานรื่นเริงต่าง ๆ เพื่อเป็นการอวยพร ซึ่งอาจแสดงเดี่ยวหรือเป็นหมู่ ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ผู้แสดงต้องถือแว่นเทียน ๑ อัน เพลงที่ใช้ในการรำ คือ เพลงเชิญพระขวัญ
อ่านเพิ่มเติม

ระบำศรีวิชัย

ชื่อ     ระบำศรีวิชัย

ประเภทการแสดง  ระบำ

ประวัติที่มา   ระบำศรีวิชัย เป็นระบำชุดที่ ๒ ในระบำโบราณคดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๘ มีอาณาเขตตั้งแต่ภาคใต้ลงไปจนถึงดินแดนของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียยางส่วนปัจจุบัน ระบำศรีวิชัยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ตนกู อับดุล รามานห์ อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แต่งเรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราสเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย และได้เชิญคณะนาฏศิลป์ไทย ไปแสดงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ กรมศิลปากรได้จัดการแสดง ๒ ชุด คือ รำชัดชาตรี และระบำศรีวิชัย โดยระบำศรีวิชัยนี้มอบให้ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง อ่านเพิ่มเติม

ฟ้อนตาลีกีปัส

การแสดงพื้นเมือง “ระบำตารีกีปัส”

ประวัติความเป็นมา 

ระบำตารีกีปัส เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศไทย คำเรียกระบำชุดนี้เป็นภาษามลายูท้องถิ่น พจนานุกรมฉบันไทย – มลายู อธิบายไว้ว่า “ตารี” หรือ ตาเรียน หมายถึง การฟ้อนรำ ส่วนคำว่า “กีปัส” หรือ ฆีปัส ออกเสียงตามประชาชนท้องถิ่นปัตตานี หมายถึง พัด รวมความแล้วตารีกีปัส หมายถึง การฟ้อนรำที่ใช้พัดประกอบการแสดง การแสดงชุดนี้ได้รับการฟื้นฟูโดยคณะครูโรงเรียนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อาจารย์สุนทร ปิยะวสันต์ ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2518 ก็ได้ชมการแสดงของรัฐต่าง ๆ หลายชุด เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย ก็ได้เล่าถึงการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ของมาเลเซียที่ได้ไปชมให้ผู้เฒ่าผู้แก่ฟัง และได้ทราบว่าเมืองยะหริ่งเดิมก็เคยมีการแสดงที่คล้ายคลึงกันกับของมาเลเซียหลายชุด ดังนั้นจึงได้คิดฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุดต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะชุดตารีกีปัส ได้นำออกแสดงครั้งแรกเนื่องในงานเลี้ยงเกษียณอายุข้าราชการครูโรงเรียนยะหริ่ง ต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแสดงชุดตารีกีปัสไปสู่ประชาชนครั้งแรก โดยเปิดสอนให้กับคณะลูกเสือของจังหวัดปัตตานี เพื่อนำไปแสดงในงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นระบำชุดเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ของจังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2524 นับว่าการแสดงชุดตารีกีปัสได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศไทยและยังเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง  อ่านเพิ่มเติม

ฟ้อนลาวดวงเดือน

 ฟ้อนลาวดวงเดือน

เราห่างเหินจากการแสดงทางภาคเหนือมานานพอสมควรครับ วันนี้ถือโอกาสนำเสนอการแสดงชุดหนึ่งที่เอ่ยชื่อแล้ว หลายท่านจะต้องทราบ เพราะเนื่องจากชื่อเพลงจะคุ้นหูมากครับ คือเพลงลาวดวงเดือน ฉะนั้นการแสดงวันนี้ก็คือ “ฟ้อนลาวดวงเดือน”

“ฟ้อนลาวดวงเดือน”เป็นการแสดงที่มีลักษณะการเกี้ยวพาราสีของชายหนุ่มหญิงสาว เพลงที่ใช้เป็นเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น สำเนียงลาว ทรงพระนิพนธ์คำร้อง และทำนองโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ผู้ประดิษฐ์ลีลาท่ารำ คือ คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์  โดยมีเนื้อร้องดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม

ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของ “คนเมือง” ซึ่งหมายถึงคนในถิ่นล้านนาที่มีเชื้อสายไทยวน และเนื่องจากการเป็นการแสดงที่มักปรากฏ ในขบวนแห่ครัวทานของวัดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟ้อนแห่ครัวทาน” ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง 8 นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า “ฟ้อนเล็บ”

ท่าฟ้อน
การฟ้อนชนิดนี้มีมาแต่ดั้งเดิม คณะศรัทธาของแต่ละวัดมักมีครูฝึกสืบทอดต่อกันมา เมื่อถึงฤดูกาลที่จะมีงานปอยหลวง ซึ่งเป็นงานฉลองศาสนสถาน มักมีการฝึกซ้อม เด็กสาวในหมู่บ้านเพื่อแสดงในงานดังกล่าวเสมอ โดยที่รูปแบบกระบวนและลีลาท่าฟ้อนไม่ได้กำหนดตายตัว แต่ละครูหรือแต่ละวัดอาจแตกต่างกันไป ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้มีการปรับปรุงและประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้ดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งขึ้น และบุคคล ผู้หนึ่งซึ่งเคยได้รับการถ่ายทอดจากคุ้มเจ้าหลวงได้แก่ ครูสัมพันธ์ โชตนา อ่านเพิ่มเติม

ฟ้อนสาวไหม

ฟ้อนสาวไหม

เป็นฟ้อนที่ต่างจาก การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ซึ่งฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เกิดจากราชสำนัก (คุ้มเจ้าดารารัศมี) แต่การฟ้อนสาวไหมเกิดจาก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีทรายมูล ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิด การฟ้อนสาวไหม ซึ่งบุคคลผู้ที่คิดค้นการฟ้อนนี้ คือ นายกุย สุภาวสิทธิ์ อดีตศิลปินช่างฟ้อน (ปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้ว) แห่งหมู่บ้านศรีทรายมูล หมู่ที่ ๑๑ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แต่เดิมท่านเป็นชาวบ้านแม่คือ ตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเป็นครูช่างฟ้อนผู้หนึ่งที่ได้สอนศิลปะการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อครูปวน คำมาแดง ซึ่งเป็นผู้ชำนาญทางด้านนี้จนได้รับสมญานามว่า “ปวนเจิง” (หมายถึง นายปวน ผู้เชี่ยวชาญในการฟ้อนเชิง) จากนั้นนายกุย สุภาวสิทธิ์ ได้ถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนต่างๆ แก่หนุ่มสาวชาวบ้านศรีทรายมูล เมื่อท่านได้ถ่ายทอดศิลปะเหล่านี้แก่ชาวบ้านศรีทรายมูล เด็กหญิงบัวเรียวก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟ้อนสาวไหม นางบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการฟ้อนมาจากบิดาตั้งแต่ อายุประมาณ ๗-๘ ขวบด้วย นายกุย เป็นผู้มีความชำนาญและความสามารถทางศิลปะการฟ้อนของฝ่ายชาย อันได้แก่ฟ้อนดาบ และฟ้อนเชิง นอกจากการฟ้อนทั้ง ๒ อย่างจะเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาแล้วยังสามารถนำมาเป็นอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายได้ด้วย ด้วยเหตุนี้นายกุยคิดว่าการที่จะถ่ายทอดการฟ้อนเชิง และฟ้อนดาบให้แก่บุตรสาวอย่างเดียวคงไม่พอ จึงได้ประดิษฐ์การฟ้อนที่นำเอากระบวนการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา และการฟ้อนเชิงของผู้ชายมาประดิษฐ์ท่ารำเรียกว่า “ฟ้อนสาวไหม” อ่านเพิ่มเติม